การใช้ทางการแพทย์ ของ วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า

วัคซีนใช้ต้านการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ในผู้ใหญ่ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้น[1]โดยฉีดโดสละ 0.5 มล. 2 โดสในกล้ามเนื้อเดลทอยด์ (ต้นแขน) ซึ่งห่างกัน 4-12 สัปดาห์ แต่องค์การอนามัยโลกก็แนะนำให้ฉีดโดสที่สอง 8-12 สัปดาห์หลังโดสแรกเพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุดไม่มีหลักฐานว่าจำเป็นต้องฉีดบูสต์เป็นเข็มที่ 3[43]

ประสิทธิภาพของวัคซีน

ประสิทธิผลโดยความรุนแรงของโรค[lower-alpha 1]
สายพันธุ์ 2 โดส 1 โดส
ไม่มีอาการ มีอาการ เข้า รพ. ไม่มีอาการ มีอาการ เข้า รพ.
อัลฟา 73% (66–78%)[45] 81% (72–87%)[45] 86% (53–96%)[lower-alpha 2] 37% (32–42%)[45] 39% (32–45%)[45] 76% (61–85%)[lower-alpha 2]
เบตา ไม่มีรายงาน 10% (−77 to 55%)[lower-alpha 3] ไม่มีรายงาน ไม่มีรายงาน ไม่มีรายงาน ไม่มีรายงาน
แกมมา ไม่มีรายงาน 78% (69–84%)[49] 88% (78–93%)[49] ไม่มีรายงาน 33% (26–40%)[49] 55% (47–62%)[49]
เดลตา 60% (53–66%)[45] 61% (51–70%)[45] 92% (75–97%)[lower-alpha 2] 18% (9–25%)[45] 33% (23–41%)[45] 71% (51–83%)[lower-alpha 2]
  1. ทั่วไปแล้ว วัคซีนจัดว่ามีประสิทธิภาพถ้ามีค่า ≥50% โดยช่วงความเชื่อมั่น (CI) แบบ 95% มีขีดต่ำสุด >30%[44]
  2. 1 2 3 4 ข้อมูลประสิทธิภาพป้องกันการเข้า รพ. เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่พีเอชอี (PHE) อ้างอิง[46][47]
  3. ประสิทธิศักย์ที่ได้ในงานศึกษาซึ่งมีอาสาสมัคร 2,026 คน[48]

ข้อมูลเบื้องต้นจากงานศึกษาสถานการณ์จริงในเมือง Botucatu ประเทศบราซิลที่แกมมาเป็นสายพันธุ์หลักแสดงประสิทธิภาพลดการติดเชื้อที่แสดงอาการได้ถึง 71% หลังจากประชากรทั้งหมด 81% (จากประมาณ 148,130 คน) ได้วัคซีนโดสแรก[50]

ประสิทธิศักย์ของวัคซีน

งานวิเคราะห์ที่ตีพิมพ์วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2021 แสดงประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ร้อยละ 76 ในการป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 วันหลังจากโดสแรก และเพิ่มเป็นร้อยละ 81.3 เมื่อฉีดโดสที่สอง 12 สัปดาห์หรือยิ่งกว่าหลังจากโดสแรก[22]ในวันที่ 22 พฤษภาคม สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ (Public Health England หรือพีเอชอี) ได้ตีพิมพ์ผลการวิเคราะห์ว่า หลังจากได้โดสที่สองสำหรับการติดเชื้อที่แสดงอาการ วัคซีนมีประสิทธิภาพร้อยละ 66 ต่อสายพันธุ์ B.1.1.7 (อังกฤษ) และร้อยละ 60 ต่อสายพันธุ์ B.1.617.2 (อินเดีย)[23][22]

ใกล้เคียง

วัคซีนโควิด-19 วัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบออนเทค วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า วัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นา วัคซีนโควิด-19 สปุตนิกวี วัคซีนโควิด-19 BBIBP-CorV ของซิโนฟาร์ม วัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน วัคซีนโควิด-19 ของโนวาแวกซ์ วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแว็ก วัคซีนโควิด-19 ของเกาตวาน

แหล่งที่มา

WikiPedia: วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า http://www.nature.com/articles/d41586-021-00315-5 http://www.theguardian.com/society/2021/apr/08/spa... http://www.theguardian.com/world/2020/nov/26/scrut... http://www.ema.europa.eu/ema/index.jsp?curl=/pages... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18227861 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32861315 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33230278 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33306989 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33323376 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33501433